วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิบัติ ๔ : การทำความดีที่ไม่ถูกต้อง


ไม่ใช่ว่า  เราทำความดี  แล้วจะถูกต้องดีงามเสมอไป

เพราะ  การทำความดี  นั้น  ต้องมีปัญญาประกอบ

พิจารณาสิ่งต่าง ๆ  ให้รอบคอบด้วย  ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ

เพราะคิดว่า  มันคือความดี  แต่ไม่ดูอย่างอื่นเลย

อย่างนี้ใช้ไม่ได้

เข้าทำนอง  ทำคุณบูชาโทษ  โปรดสัตว์ได้บาป

มาดูกันว่า  การทำความดีที่ไม่ถูกต้อง  นั้นเป็นอย่างไร

เรื่องนี้มีใน  วิบัติ  ๔   ว่าด้วยการทำความดีที่ไม่ถูกต้อง

คือ

๑.  ทำความดีไม่ถูกที่

๒.  ทำความดีไม่ถูกบุคคล

๓.  ทำความดีไม่ถูกกาล

๔.  ทำความดีแล้วไม่ตามความดีของตน


ข้อ  ๑  นั้น  ก็เช่นว่า  ทำความดีไม่ถูกที่ถูกทาง  อันนี้เรียก  คติวิบัติ

ข้อ  ๒  อันนี้เข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว  ทำไม่ถูกบุคคล

หรือบุคคลที่ทำนั้นไม่สมประกอบ  มันก็ไม่ดี  เรียก  อุปธิวิบัติ

ข้อ  ๓  ข้อนี้ชัดเจน  ทำไม่ถูกกาลเวลา  ก็ย่อมต้องมีอันยอบแย่  เรียก  กาลวิบัติ

ข้อ  ๔  ข้อนี้ดูเข้าใจยากสุด  แต่เรียกให้ง่ายเข้ามาคือ  ทำแล้วทำไม่ต่อเนื่อง

ทำไม่ถึงที่สุด  ทำย่อ ๆ  หย่อน ๆ  ยึก ๆ  ยัก ๆ  เช่น  เคยนั่งสมาธิครั้งสองครั้งแล้วก็เลิกนั่งเสีย

เคยทำบุญทำทาน  แล้วก็เลิกทำ  อย่างนี้เป็นต้น  อันนี้เรียก  ปโยควิบัติ

ปโยค  ก็คือ  ประกอบ  แปลว่า  วิบัติแห่งการประกอบ (กิจ)  คือไม่ทำกิจให้สมบูรณ์


เอวัง


พุทธังกุโร
๑๐  พฤศจิกายน  ๒๕๕๗