๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ ถึง ๘ มกราคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา
ได้ไปอยู่วัดป่านาคำน้อย
รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๑๐ วัน ๑๐ คืน
การไปครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่น ๆ
เนื่องจาก เป็นการไปอยู่วัดที่ยาวนาน
กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
และได้ผลทางการปฏิบัติก้าวหน้า
ชนิดที่เรียกว่า ก้าวกระโดด อย่างนี้ก็ว่าได้
หลวงพ่อไม่ได้อยู่วัดเกือบเดือน
เพราะต้องไปเตรียมงามพระราชทานเพลิงหลวงปู่จาม
ซึ่งมีกำหนดในวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗
ตอนแรกว่าจะไปหนึ่งสัปดาห์เหมือนครั้งก่อน ๆ
แต่มาพิจารณาถึงวันต่าง ๆ แล้ว
ก็นึกได้ว่า
อยู่ต่อไปอีกจะดีกว่า
รอหลวงพ่อกลับมา
โดยที่ไม่รู้เลยว่า
หลวงพ่อมีกำหนดกลับวัดวันที่ ๘ มกราคม (ตอนเย็น)
ปกติข้าพเจ้าก็จะออกตอนเช้า
ซึ่งถ้าเป็นไปตามกำหนดการเดิมของหลวงพ่อ
ก็คงไม่ได้พบหลวงพ่อเป็นแน่แท้
วันที่หก ถามย้ำกับครูบาว่า
หลวงพ่อจะกลับวันที่แปดจริง ๆ หรือ
ไม่ใช่จะกลับวันที่เจ็ดตอนเย็นหรือ
ครูบาท่านนั้นก็บอกว่า
วันที่แปดแน่ ๆ เพราะถ้าจะกลับวันที่เจ็ด
ป่านนี้ต้องมีคนโทรมาบอกแล้ว
แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังใจอยู่ว่า
หลวงพ่อจะกลับวันที่เจ็ดตอนเย็น
ไม่เช่นนั้น
การมาวัดครั้งนี้
ก็จะเป็นการผิดธรรมเนียมแต่เดิมว่า
วันสุดท้ายที่อยู่วัด
ต้องกราบลาและเล่าผลการปฏิบัติกับหลวงพ่อ
ส่วนตอนกลางคืน
ก็มีธรรมสากัจฉา
กับครูบาที่เคารพนับถือ
บ่ายวันที่เจ็ด ลงมาดื่มปานะ
ด้วยจิตใจที่ปลง ๆ ปล่อยวาง ๆ
แต่พลัน
ราว ๆ บ่ายสองครึ่งถึงบ่ายสามโมง
ก็มีข่าวครึกโครมว่า
หลวงพ่อจะกลับมาแล้ว
ตอนนี้ถึงตัวเมืองอุดรธานีแล้ว
นั่นแหละ
ความปีติอย่างยิ่งจึงเกิดขึ้นมา
ตั้งใจรอรับหลวงพ่ออย่างเต็มที่
แต่ก็ยังพะวงว่า
หลวงพ่อมาเหนื่อย ๆ
อาจจะต้องการพักผ่อนหรือเปล่า
แต่ครูบาก็บอกว่า
หลวงพ่อจะมานั่งที่โรงต้มก่อน
วัดช่วงที่หลวงพ่อไม่อยู่นั้น
เงียบเหงามาก
ผู้คนที่มาทำบุญตอนเช้าก็น้อยมาก
แต่อาหารการกินที่ว่าน้อย ๆ นั้น
ก็คือน้อยกว่าปกติเท่านั้น
แต่ถ้านับปริมาณ
ก็มากมายอยู่ดี
คือพอเลี้ยงพระเลี้ยงคนได้ตามปกติ
รายละเอียดเรื่องหลวงพ่อมาถึงวัดแล้วเป็นอย่างไรนั้น
จะเล่าในภายหลัง
ตอนนี้ที่จะเล่าก็คือ
ข้ามไปถึงวันที่แปดตอนเช้า
หลวงพ่อฉันเสร็จ
เราก็เข้าไปลากลับ
คำพูดสุดท้าย
สุดท้ายจริง ๆ
ก่อนจะจากมา
หลวงพ่อท่านมองหน้าข้าพเจ้าแล้วก็พูดว่า
"ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเน้อ"
ความรู้สึกขณะนั้น
ข้าพเจ้าก็บรรยายไม่ถูกเหมือนกัน
และแปลความไม่ได้ว่า
"ดวงตาเห็นธรรม" นั้น
แปลว่าเห็นในระดับไหน
แต่ก็สร้างความชุ่มชื่นหัวใจมากกว่าสิ่งใด ๆ
ในโลกนี้
พุทธังกุโร
๑๔ มกราคม ๒๕๕๗
ได้ไปอยู่วัดป่านาคำน้อย
รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๑๐ วัน ๑๐ คืน
การไปครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่น ๆ
เนื่องจาก เป็นการไปอยู่วัดที่ยาวนาน
กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
และได้ผลทางการปฏิบัติก้าวหน้า
ชนิดที่เรียกว่า ก้าวกระโดด อย่างนี้ก็ว่าได้
หลวงพ่อไม่ได้อยู่วัดเกือบเดือน
เพราะต้องไปเตรียมงามพระราชทานเพลิงหลวงปู่จาม
ซึ่งมีกำหนดในวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗
ตอนแรกว่าจะไปหนึ่งสัปดาห์เหมือนครั้งก่อน ๆ
แต่มาพิจารณาถึงวันต่าง ๆ แล้ว
ก็นึกได้ว่า
อยู่ต่อไปอีกจะดีกว่า
รอหลวงพ่อกลับมา
โดยที่ไม่รู้เลยว่า
หลวงพ่อมีกำหนดกลับวัดวันที่ ๘ มกราคม (ตอนเย็น)
ปกติข้าพเจ้าก็จะออกตอนเช้า
ซึ่งถ้าเป็นไปตามกำหนดการเดิมของหลวงพ่อ
ก็คงไม่ได้พบหลวงพ่อเป็นแน่แท้
วันที่หก ถามย้ำกับครูบาว่า
หลวงพ่อจะกลับวันที่แปดจริง ๆ หรือ
ไม่ใช่จะกลับวันที่เจ็ดตอนเย็นหรือ
ครูบาท่านนั้นก็บอกว่า
วันที่แปดแน่ ๆ เพราะถ้าจะกลับวันที่เจ็ด
ป่านนี้ต้องมีคนโทรมาบอกแล้ว
แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังใจอยู่ว่า
หลวงพ่อจะกลับวันที่เจ็ดตอนเย็น
ไม่เช่นนั้น
การมาวัดครั้งนี้
ก็จะเป็นการผิดธรรมเนียมแต่เดิมว่า
วันสุดท้ายที่อยู่วัด
ต้องกราบลาและเล่าผลการปฏิบัติกับหลวงพ่อ
ส่วนตอนกลางคืน
ก็มีธรรมสากัจฉา
กับครูบาที่เคารพนับถือ
บ่ายวันที่เจ็ด ลงมาดื่มปานะ
ด้วยจิตใจที่ปลง ๆ ปล่อยวาง ๆ
แต่พลัน
ราว ๆ บ่ายสองครึ่งถึงบ่ายสามโมง
ก็มีข่าวครึกโครมว่า
หลวงพ่อจะกลับมาแล้ว
ตอนนี้ถึงตัวเมืองอุดรธานีแล้ว
นั่นแหละ
ความปีติอย่างยิ่งจึงเกิดขึ้นมา
ตั้งใจรอรับหลวงพ่ออย่างเต็มที่
แต่ก็ยังพะวงว่า
หลวงพ่อมาเหนื่อย ๆ
อาจจะต้องการพักผ่อนหรือเปล่า
แต่ครูบาก็บอกว่า
หลวงพ่อจะมานั่งที่โรงต้มก่อน
วัดช่วงที่หลวงพ่อไม่อยู่นั้น
เงียบเหงามาก
ผู้คนที่มาทำบุญตอนเช้าก็น้อยมาก
แต่อาหารการกินที่ว่าน้อย ๆ นั้น
ก็คือน้อยกว่าปกติเท่านั้น
แต่ถ้านับปริมาณ
ก็มากมายอยู่ดี
คือพอเลี้ยงพระเลี้ยงคนได้ตามปกติ
รายละเอียดเรื่องหลวงพ่อมาถึงวัดแล้วเป็นอย่างไรนั้น
จะเล่าในภายหลัง
ตอนนี้ที่จะเล่าก็คือ
ข้ามไปถึงวันที่แปดตอนเช้า
หลวงพ่อฉันเสร็จ
เราก็เข้าไปลากลับ
คำพูดสุดท้าย
สุดท้ายจริง ๆ
ก่อนจะจากมา
หลวงพ่อท่านมองหน้าข้าพเจ้าแล้วก็พูดว่า
"ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเน้อ"
ความรู้สึกขณะนั้น
ข้าพเจ้าก็บรรยายไม่ถูกเหมือนกัน
และแปลความไม่ได้ว่า
"ดวงตาเห็นธรรม" นั้น
แปลว่าเห็นในระดับไหน
แต่ก็สร้างความชุ่มชื่นหัวใจมากกว่าสิ่งใด ๆ
ในโลกนี้
พุทธังกุโร
๑๔ มกราคม ๒๕๕๗