พอความหลงมันเข้าครอบงำแล้ว
เราก็หลงไปหมดว่า
อันนั้นก็ของเรา อันนี้ก็ของเรา
พอวันหนึ่งมันไม่เป็นของเรา
แต่เราดันไปยึดว่า มันเป็นของเราอยู่
ก็ทำให้เสียอกเสียใจขึ้นมา
บางทีถึงขนาดกินไม่ได้นอนไม่หลับ
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า
ให้ทำทาน คือบริจาคออกไป สละออกไป
เป็นการฝึกอุปนิสัยเบื้องต้น
เป็นก้าวแรกของทางเดินเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์
เพราะในที่สุดแล้ว
เราต้องสละหมด
ทิ้งหมดจึงจะเข้าถึงนิพพาน คือที่สุดแห่งทุกข์ได้
ทานเป็นเบื้องต้นของบารมีธรรมทั้งปวง
ศีลเป็นท่ามกลาง
ภาวนาเป็นข้อสุดท้าย
แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว
ทุกสิ่งก็ส่งเสริมกัน
หนุนกันอยู่ในแอ่งแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั่นเอง
มหาบริจาค
ท่านว่ามีอยู่ห้าอย่าง
เป็นสิ่งที่สละได้ยาก
ทรัพย์สมบัติ ๑
ลูก ๑
เมีย ๑
อวัยวะ ๑
ชีวิต ๑
การบริจาคเหล่านี้ต้องทำให้เป็นอุปนิสัย
ฝึกสละละออกให้หมด
เป็นทานบารมี
มหาบริจาค ๕ นี้
เป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และ ทานปรมัตถบารมี
ตามลำดับ
จึงวิถีแห่งธรรม วิถีแห่งการปฏิบัติธรรม
ย่อมต้องดำเนินสั่งสมอุปนิสัยพวกนี้
คือบารมีทั้งสิบ มีทานบารมีเป็นเบื้องต้น
มีอุเบกขาบารมีเป็นที่สุด
จะเป็นปกติสาวกก็ต้องสั่งสม
เป็นมหาสาวกก็ต้องสั่งสม
เป็นอัครสาวกก็ต้องสั่งสม
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องสั่งสม
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องสั่งสม
ต่างกันแต่ระยะเวลาเท่านั้น
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนิสัยวาสนา ความปรารถนาของแต่ละคน
แต่ทุก ๆ สัตว์ ทุก ๆ ตัวตนในโลก ต้องทำสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้น
ใครทำเสร็จเรียบร้อยก่อน ครบเต็มบริบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้ก่อน
ก็ไปก่อน
กลับคืนสู่บ้านที่แท้ คือนิพพาน
ใครหนาหน่อย ก็อยู่ไปนาน ๆ
ทรมานกับกิเลสเครื่องล่อลวงรัดรึง
วนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ไม่สิ้นสุดไปเรื่อย ๆ
จนกว่าจะตระหนักนึกขึ้นมาได้นั่นแล
เอวังก็มีแต่เท่านี้
พุทธังกุโร
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
เราก็หลงไปหมดว่า
อันนั้นก็ของเรา อันนี้ก็ของเรา
พอวันหนึ่งมันไม่เป็นของเรา
แต่เราดันไปยึดว่า มันเป็นของเราอยู่
ก็ทำให้เสียอกเสียใจขึ้นมา
บางทีถึงขนาดกินไม่ได้นอนไม่หลับ
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า
ให้ทำทาน คือบริจาคออกไป สละออกไป
เป็นการฝึกอุปนิสัยเบื้องต้น
เป็นก้าวแรกของทางเดินเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์
เพราะในที่สุดแล้ว
เราต้องสละหมด
ทิ้งหมดจึงจะเข้าถึงนิพพาน คือที่สุดแห่งทุกข์ได้
ทานเป็นเบื้องต้นของบารมีธรรมทั้งปวง
ศีลเป็นท่ามกลาง
ภาวนาเป็นข้อสุดท้าย
แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว
ทุกสิ่งก็ส่งเสริมกัน
หนุนกันอยู่ในแอ่งแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั่นเอง
มหาบริจาค
ท่านว่ามีอยู่ห้าอย่าง
เป็นสิ่งที่สละได้ยาก
ทรัพย์สมบัติ ๑
ลูก ๑
เมีย ๑
อวัยวะ ๑
ชีวิต ๑
การบริจาคเหล่านี้ต้องทำให้เป็นอุปนิสัย
ฝึกสละละออกให้หมด
เป็นทานบารมี
มหาบริจาค ๕ นี้
เป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และ ทานปรมัตถบารมี
ตามลำดับ
จึงวิถีแห่งธรรม วิถีแห่งการปฏิบัติธรรม
ย่อมต้องดำเนินสั่งสมอุปนิสัยพวกนี้
คือบารมีทั้งสิบ มีทานบารมีเป็นเบื้องต้น
มีอุเบกขาบารมีเป็นที่สุด
จะเป็นปกติสาวกก็ต้องสั่งสม
เป็นมหาสาวกก็ต้องสั่งสม
เป็นอัครสาวกก็ต้องสั่งสม
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องสั่งสม
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องสั่งสม
ต่างกันแต่ระยะเวลาเท่านั้น
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนิสัยวาสนา ความปรารถนาของแต่ละคน
แต่ทุก ๆ สัตว์ ทุก ๆ ตัวตนในโลก ต้องทำสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้น
ใครทำเสร็จเรียบร้อยก่อน ครบเต็มบริบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้ก่อน
ก็ไปก่อน
กลับคืนสู่บ้านที่แท้ คือนิพพาน
ใครหนาหน่อย ก็อยู่ไปนาน ๆ
ทรมานกับกิเลสเครื่องล่อลวงรัดรึง
วนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ไม่สิ้นสุดไปเรื่อย ๆ
จนกว่าจะตระหนักนึกขึ้นมาได้นั่นแล
เอวังก็มีแต่เท่านี้
พุทธังกุโร
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗